วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

ระบบการเมืองการปกครอง

การปกครองระบอบประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองที่อำนาจมาจากประชาชนเป็นการปกครองที่ประชาชน
  สามารถมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง เป็นการปกครองโดยประชาชนและเพื่อประชาชน

       1.1 หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
              หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยยึดหลักการดังต่อไปนี้คือ            
              1. หลักอำนาจอธิปไตยโดยปวงชน
 กล่าวคือ ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจ
  ในกิจการต่างๆ ร่วมกัน
            
 2. หลักอำนาจอธิปไตยโดยปวงชน กล่าวคือ ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยเลือกตัวแทน
  ของตนเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา
             3. หลักอำนาจอธิปไตยโดยปวงชน
 กล่าวคือผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศต้องปกครอง
  เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนใหญ่มิใช่เพื่อหมู่คณะของตนเอง
       
      4. หลักเหตุผล ระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล รวมทั้งรับฟัง
  ความคิดเห็นจากทุกฝ่ายอย่างกว้างขวาง 

            
 5. หลักเสียงข้างมาก เมื่อมีการอภิปรายแสดงข้อคิดเห็นกันแล้วการหาข้อยุติต้องเกิดจากการออกเสียง
  ลงคะแนนเสียง มติของที่ประชุมเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับ
             6. หลักความยินยอม เป็นการยอมรับฉันทานุมัติจากปวงชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยให้เข้ามาทำหน้าที่  
  แทนใช้อำนาจของประชาชนภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด
           
  7. หลักประนีประนอม เมื่อเกิดข้อขัดแย้งไม่มากนัก ก็อาจมีการประนีประนอมโดยยึดหลักผลประโยชน์
  ส่วนรวมเป็นเกณฑ์โดยไม่ต้องมีการลงคะแนนเพื่อหาข้อยุติ
            
 8. หลักความเสมอภาค ประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถือว่า มนุษย์เกิดมามีศักดิ์ศรี
  เท่าเทียมกันทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเสมอภาค
             
9. หลักเสรีภาพ ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะต้องให้เสรีภาพแก่ปวงชนภายใต้
  ข้อบังคับของกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการพูด
 การเขียน การชุมนุม การศึกษาอบรม การรวมตัวกันเป็นสมาคม
      
10. หลักการปกครองตนเอง เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลในชุมชนหรือท้องถิ่นได้มีโอกาสปกครองตนเอง
  เพราะประชาชนในท้อง ถิ่นย่อมสามารถรู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาของตนเองได้ดีกว่าบุคคลอื่น
     นักคิดคนสำคัญผู้วางรากฐานประชาธิปไตย     
แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยได้รับอิทธิพลมาจากงานเขียนทางการเมืองของเหล่านักคิด
  และปรัชญาเมธีในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 ซึ่งไม่พอใจกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ความคิดของนักคิด
  เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นกลางและผู้มีบทบาทในสังคม
มีการตีพิมพ์เผยแพร่ความคิดและผลงาน
  ของกลุ่มนักปรัชญาอย่างกว้างขวาง
โดยมีอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวซึ่งบุคคลที่เสนอ
  ความคิดเกี่ยวกับปรัชญาทางการเมืองอันเป็นรากฐานแนวคิดประชาธิปไตยในเวลาต่อมาที่สำคัญได้แก่
 
            
1. จอห์น ลอก ผลงานของจอห์น ลอก ที่เกี่ยวกับการเมือง เล่มสำคัญได้แก่ หนังสือว่าด้วยทฤษฎีการเมือง
  สองเล่ม ชื่อ “
 Two treaties of Government ” 
เป็นหนังสือที่ว่าด้วย ที่มาของอำนาจทางการเมือง เสรีภาพ
  การปฎิเสธอำนาจการปกครองของกษัตริย์และชนชั้นสูง ซึ่งแนวคิดของจอห์น ลอก  มีอิทธิพลอย่างมากต่อ
  ระบอบการปกครองของอังกฤษ

            
2. มองเตสกิเออ เป็นนักที่มีแนวคิดต่อต้านอำนาจอันล้นพ้นของกษัตริย์ โดยพยายามรวบรวมข้อเท็จจริง
  ของการปกครองในสมัยโบราณรูปแบบต่างๆ 
มาวิเคราะห์แยกแยะหาข้อดีข้อเสีย และเสนอหลักการปกครอง
  ออกมาในงานเขียนชิ้นเอกของเขา เรื่อง “ The Spirit of Laws”
 
ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับรูปแบบการปกครอง
  ที่ต้องสอดคล้องกับลักษณะของแต่ละประเทศ การแยกอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการให้เป็นอิสระ
  ต่อกัน ซึ่งแนวคิดการแยกอำนาจของมองเตสกิเออ เป็นพื้นฐานแนวคิดที่ประเทศปกครองระบอบประชาธิปไตย
  มักจะบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ

            
3. รุสโซ มีผลงานหลายเล่มที่แสดงทัศนะเกี่ยวกับการศึกษา จิตวิทยา การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
  และการปกครองบ้านเมืองโดยผลงานชิ้นเอกของรุสโซคือ เรื่อง“ The Social Contract”
 
หรือ สัญญาประชาคม  ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการปกครอง งานเขียนชิ้นนี้ทำให้รุสโซได้รับการยกย่องว่าเป็น เจ้าทฤษฏีแห่งอำนาจ
  อธิปไตยของประชาชน
1.2 รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
       การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้แบ่งรูปแบบการปกครองของประเทศในระบอบประชาธิปไตย แบ่งออก
  ได้เป็น 2 หลักเกณฑ์ ดังนี้ 

                  
1) หลักประมุขของประเทศ แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
                   
  มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่าน 3 องค์กร คือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ
  โดยผ่านทางรัฐสภาอำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล

                   
 มีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยประธานาธิบดีจะต้องเป็นบุคคลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน
    เพื่อทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐ ในบางประเทศประธานาธิบดีจะทำหน้าที่เป็นประมุขของฝ่ายบริหารด้วย

                  2) หลักการรวมและแยกอำนาจ 
แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ   
                      2.1) แบบรัฐสภา โดยรัฐสภามีอำนาจสูงสุดในการออกกฎหมาย ซึ่งอาจมีสภาเดียวหรือสองสภา

                      
        สภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง 
                     
         สองสภา   คือ สภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) มาจากการเลือกตั้ง วุฒิสภา (สภาสูง) มาจากการเลือกตั้ง   หรือแต่งตั้งโดยฝ่ายบริหาร
                              รัฐสภามีหน้าที่เลือกบุคคลเข้าเป็นคณะรัฐมนตรี ควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล กล่าวคือ
  รัฐบาลต้องบริหารงานภายใต้ความไว้วางใจของรัฐสภา ดังนั้น รัฐบาลจะมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพจึงต้องได้รับ
  เสียงสนับสนุนพอควรจากรัฐสภา
                      
         การปกครองระบอบรัฐสภานี้ไม่มีการแบ่งแยกอำจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหารออกจากกัน
  อย่างเด็ดขาด ทั้งสองฝ่ายต่างคานอำนาจกันและกัน( Checks and Balances)
 
กล่าวคือ คณะรัฐบาลจะเข้าบริหาร
 ประเทศต้องได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภาและรัฐสภามีสิทธิลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลอันส่งผลให้รัฐบาล
 หรือคณะรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลง ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็สามารถใช้มาตรการควบคุมรัฐสภาได้โดยการยุบสภา
  เพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนทำการเลือกผู้แทนเข้ามาใหม่ ถ้าหากรัฐสภาไม่ยอมผ่านกฎหมายสำคัญของรัฐบาล เป็นต้น
                                การปกครองแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาปัจจุบันมีใช้อยู่หลายประเทศ เช่น อังกฤษ อินเดีย
  ญี่ปุ่น เดนมาร์ก เบลเยี่ยม และไทย เป็นต้น                   
อาคารรัฐสภาของไทย ซึ่งใช้เป็นสถานที่
ประชุมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และสมาชิกวุฒิสภา
                    2.2) แบบประธานาธิบดี ซึ่งมีการแยกอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการอย่างชัดเจน และมีอิสระ
  ในการทำงาน โดยผู้นำประเทศที่ใช้การปกครองรูปแบบนี้จะทำหน้าที่เป็นทั้งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี
  ดังนั้น ประธานาธิบดี จึงเป็นทั้งประมุขของประเทศและฝ่ายบริหารในคนเดียวกัน ซึ่งทั้ง สาม สถาบันจะคอยยับยั้ง
  ถ่วงดุลอำนาจกันและกันเ
พื่อมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจเกินขอบเขต แต่ประธานาธิบดีไม่สามรถยุบสภาได้รวมทั้ง   3 สถาบัน ไม่สามารถลงมติไม่ไว้วางใจประธานาธิบดีได้ ประเทศที่ยังใช้ปกครองรูปแบบนี้เช่น สหรัฐอเมริกา 
  อุรุกวัย บราซิล เป็นต้น        
                    2.3) แบบกึ่งประธานาธิบดี เป็นระบบที่เป็นการผสมผสานระหว่างรัฐบาลและรัฐสภา
  และแบบประธานาธิบดี คือ จะมีประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขและฝ่ายบริหารโดยจะมาจากการเลือกตั้ง แต่มีอำนาจ
  มากกว่าประธานาธิบดีระบบรัฐสภา สามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และสามารถยุบสภาเพื่อเลือกตั้ง
  ใหม่ได้ ประเทศที่ใช้การปกครองแบบนี้ ได้แก่ สิงคโปร์
  ศรีลังกา เป็นต้น

           1.3 ข้อดีของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
                  
1. เป็นระบอบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครองเทศประชาชนเกิดความรักชาติ
  บ้านเมือง และคิดว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นเจ้าของประเทศ
                2. ได้มีการกลั่นกรองความคิดเห็น แต่ละฝ่าย แต่ละคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี แนวคิดที่
  ตรงข้ามกัน จะได้รับการตัดสินใจโดยใช้มติเสียงข้างมากเป็นหลัก ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องยอมรับมติดังกล่าว
                3. เป็นระบอบที่มีการแยกอำนาจออกจากกันอย่างชัดเจน ทั้งอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แต่ก็มี
  การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของแต่ละฝ่าย รวมทั้งมีการคานอำนาจซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ
                4. เป็นระบอบป้องการผูกขาด หรือสืบทอดอำนาจ คือ การกำหนดระยะเวลาในการอยู่ในตำแหน่ง
  หรือการบริหารตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
                5. ให้มีระบอบประกันสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคแก่ประชาชน โดยรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของ
  ประเทศช่วยป้องกันมิให้ฝ่ายบริหารหรือผู้ปกครองประเทศ ออกกฎหมายมาขัดต่อรัฐธรรมนูญที่กำหนดสิทธิเสรีภาพ
  ความเสมอภาคขั้นพื้นฐานเอาไว้

 การปกครองระบอบประชาธิปไตย ประชาชนจะมีสิทธิ์คัดค้านแสดงความคิดเห็นโดยที่ภาครัฐจะต้อง
รับฟังร่วมกันแก้ไข
             1.4 ข้อจำกัดของการปกครองระบอบประชาธิปไตย                      
              1. ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย จะตกเป็นเครื่องมือของนายทุนได้ง่าย เช่น
  การซื้อสิทธิ ขายเสียง
              2. นักการเมืองและพรรคการเมืองอาจใช้วิธีหาเสียงโดยไม่สุจริต เช่น
 เมื่อตอนเป็นรัฐบาลหรือมีอำนาจ 
  อาจใช้งบประมาณไปในทางมิชอบ อย่างเช่น การโฆษณา การสรร้างภาพพจน์ เพื่อสร้างคะแนนให้แก่พรรค
 และพวกพ้องของตน
              3. สูญเสียงบประมาณอย่างมากในการจัดการเลือกตั้งในทุกระดับ
              4. มีการใช้อุบาย กลโกงทุกรูปแบบในการหาเสียง และโจมตีนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม ต่อต้านฝ่ายตรงข้าม
  โดยการใช้พลังมหาชน